เตือนภัย! ค้างค่างวด ระวังโดนยึดทรัพย์

Last updated: 29 มิ.ย. 2567  |  235 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค้างค่างวดรถ โดนไฟแนนซ์ฟ้อง

เตือนภัย! ค้างค่างวด ระวังโดนยึดทรัพย์
เคยมั้ย? รู้สึกเหมือนเงินไม่พอจ่าย หลายๆ บิลเริ่มทับซ้อน เผลอๆ ค้างค่างวดรถ ใจก็เริ่มไม่ดี กลัวโดนยึด กลัวโดนฟ้อง โดนบังคับคดีขายทอดตลาด
ใจเย็นๆ ค่ะ วันนี้เรามีวิธีเด็ดๆ มาบอกต่อ ช่วยให้คุณรอดพ้นวิกฤตค้างค่างวด มาดูกันเลยว่า
ใครประสบปัญหา แบบนี้หรือไม่เราถึงกระบวนการไหนแล้ว

1. ค้างค่างวดรถเกิน 3งวด
2.โดนบอกยกเลิกสัญญา
3. โดนติดตามโดนยึด
4.โดนฟ้องศาล (ไปไกล่เกี่ย ขอผ่อนต่อ)
5.ผิดนัดชำระ โดนบังคับคดี
6.โดนบังคับขายทอดตลาด
ตามเงื่อนไขของ ธนาคารแหล่งประเทศไทย ว่าด้วย พรบ. สัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยายยนต์
1. สาเหตุ : รถโดนยึด โดนฟ้องศาล เกิดขึ้นได้อย่างไร?
1.1 ค้างชำระค่างวด:
- ค้างชำระ 3 งวดติดต่อกัน
- ค้างชำระติดต่อกันเป็นเวลานาน
1.2 ผิดสัญญาเช่าซื้อ:
- เปลี่ยนแปลงสภาพรถโดยไม่ได้รับอนุญาต
- นำรถไปขายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ผู้เช่าซื้อเสียชีวิต และผู้จัดการมรดก ไม่สามารถผ่อนต่อได้ หรือผ่อนไม่ตรง มีการบอกเลิกสัญญา
1.3 มีหนี้สินอื่นๆ:
- มีหนี้เสียกับธนาคารอื่น ทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้
- ถูกฟ้องล้มละลาย
2. ขั้นตอนในการถูกยึดรถ :
2.1 ไฟแนนซ์จะส่งหนังสือแจ้งเตือน: เพื่อให้ชำระหนี้ที่ค้าง หรือให้ชำระยอดค้างเต็มจำนวน ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก่อนที่จะส่งเรื่องฟ้องศาล
2.2 ไฟแนนซ์จะติดต่อเพื่อขอเจรจา
2.3 ไฟแนนซ์จะยื่นฟ้องศาล กรณี ที่ลูกค้าเพิกเฉย ไม่ดำเนินการติดต่อ ไกล่เกลี่ย หรือไม่มีเงินมาชำระตามกำหนด
2.4 ศาลจะออกหมายศาล เพื่อเรียก ทั้งผู้เช่าซื้อ และผู้ค้ำ ดำเนินการชำระหนี้ หรือคืนรถให้กับทางไฟแนนซ์
2.5 เจ้าหน้าที่บังคับคดีจะยึดรถ หรือถ้าไม่คืนรถ ไม่มีรถคืน ก็จะดำเนินการยึดทรัพย์ เช่นบ้าน หรือให้ทางประกันสังคมหักเงินเดือน
3. ผลกระทบของการโดนยึดรถ โดนฟ้องศาล
3.1 ด้านการเงิน:
- เสียเครดิตบูโร เนื่องจากมีประวัติล่าช้า หรือกลายเป็นหนี้เสียในระบบเครดิตบูโร
- เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าดอกเบี้ย ค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมศาล หรืออื่น ๆ ที่ทำให้ไฟแนนซ์เสียหาย
- เสียโอกาสในการขอสินเชื่อในอนาคต เนื่องจากมีประวัติเสียของการชำระค่างวดรถไม่ตรง หรือโดนยึด โดนฟ้อง แล้วไม่ได้แก้ไข หรือปิดหนี้ทั้งหมด
3.2 ด้านจิตใจ:
- เกิดสภาวะเครียด วิตกกังวล เรื่องหนี้สิน และผลกระทบที่เกิดขึ้น เนื่องจากต้องชำระหนี้ และไม่มีรถใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
- เสียชื่อเสียง เนื่องจากอาจโดนฟ้อง หรือมีการบังคับคดีจากกรมบังคับคดี ให้ทางประกันสังคม หักเงินเดือน ซึ่งทำให้ต้องทำรายงานต่อฝ่ายบุคคล
หรือมีหมายศาล มาติดที่หน้าบ้าน บังคับขายทอดตลาด
4. ด้านกฎหมาย: คดีความ
4.1 มีคดีติดตัว
- บันทึกในเครดิตบูโร ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือทางการเงิน
- ยากต่อการขอสินเชื่อในอนาคต เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ
- อาจถูกจำกัดการเดินทางไปต่างประเทศ
4.2 อาจถูกจำคุก:
- กรณีผิดสัญญาเช่าซื้อโดยเจตนา
- กรณีมีพฤติกรรมขัดขวางการยึดรถ
- กรณีไม่ชำระหนี้ตามคำสั่งศาล
ซึ่งโทษจำคุก: ขึ้นอยู่กับมูลค่าหนี้สิน ระยะเวลาค้างชำระ และพฤติการณ์ของผู้กู้ โดยทั่วไปโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
การหลีกเลี่ยงโทษจำคุก: ชำระหนี้ตามคำสั่งศาล, เจรจาประนีประนอมกับไฟแนนซ์, ยื่นขอผ่อนชำระหนี้
แนะนำแนวทางแก้ไข
1. เจรจากับไฟแนนซ์:
1.1 อธิบายสถานการณ์ของคุณ เพื่อให้ทางทีมกฏหมายเจรจา ไกล่เกลี่ย เพื่อเลื่อนชำระค่างวดค้างชำระ ตามวันเวลาที่กำหนด ก่อนที่จะถูกส่งฟ้องศาล
1.2 แสดงความตั้งใจในการชำระหนี้ มีความพยายาม ในการชำระหนี้เข้าไปตัดยอดบางส่วน หรือตัดหนี้ให้ทันตามที่ตกลงกับฝ่ายกฏหมาย
1.3 ขอผ่อนชำระค่างวด ขอชำระบางส่วน และชำระเต็มในวันที่พร้อม
1.4 ขอพักชำระค่างวด อาจเข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ของไฟแนนซ์ (ควรศึกษาเงื่อนไขก่อนตัดสินใจ)2. การรีไฟแนนซ์ คือ การขอสินเชื่อใหม่เพื่อปิดยอดหนี้สินเชื่อเก่า โดยปกติแล้ว จะรีไฟแนนซ์เพื่อปรับเปลี่ยน แก้ไข ในสถานะและความจำเป็นของผู้กู้
2.1 ลดอัตราดอกเบี้ย:
- หาธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อให้การผลชำระได้ถูกลงกว่าเดิม
- เปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่างๆ เพราะแต่ละธนาคาร มีโปรโมชั่น หรือเงื่อนไขที่แตกต่าง จึงแนะนำให้ดูที่เหมาะสมกับลูกค้าให้มากที่สุด
2.2 ปรับระยะเวลาผ่อนชำระ:
- ขยายระยะเวลาผ่อนชำระเพื่อลดค่างวด เช่นเดิมเคยผ่อน 12,000 บาท พอมารีใหม่ในวงเงินที่ต้องการ และการผ่อนชำระลดลงเหลือ 8,000 บาท และผ่อนได้ยาวขึ้น เพื่อปรับสภาพให้เข้ากับรายได้ปัจจุบัน
- ย่นระยะเวลาผ่อนชำระเพื่อปิดยอดเร็วขึ้น เนื่องจากผลนาน ทำให้เสียดอกที่สูงตามปีที่ชำระ ทำให้รู้สึกท้อระหว่างทาง จึงอยากให้หนี้สินหมดไว และรายได้ที่เพิ่มขึ้น จะได้ผ่อนให้มากขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้กู้
2.3 เพิ่มวงเงินสินเชื่อ:
ขอวงเงินเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เหลือเงินส่วนต่างเพื่อไปชำระหนี้ เพื่อรวมหนี้ให้เป็นหนี้ทางเดียว หรือนำเงินไปลงทุนต่อยอดธุรกิจ หรือเก็บไว้เป็นเงินสำรอง เนื่องจากการรีไฟแนนซ์รถยนต์ เป็นสินเชื่อที่ดอกเบี้ยถูกที่สุด และผ่อนชำระเกินครึ่งทางปิดบัญชีก็ไม่ต้องเจอดอกเบี้ย มีระยะเวลาการผ่อนชำระหมดตามเป้าหมาย
คุณสมบัติทั้งผู้เช่าซื้อ : และตัวรถที่จะรีไฟแนนซ์:
- ผ่อนชำระค่างวดรถมาแล้วอย่างน้อย 50% เนื่องจาก การผ่อนชำระทั้งหมด 60 งวด ซึ่ง 30 งวดแรกจะเป็นดอกเบี้ย กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน 30 งวดหลัง เพิ่งโดนตัวรถ จะสามารถนำมารีไฟแนนซ์แล้วเหลือเงินส่วนต่าง หรือขยายระยะเวลาได้ใหม่
- มีรายได้และเครดิตดี มีรายได้เพียงพอ เพื่อให้มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ เช่น รายได้ 15,000 สามารถผ่อนรถได้ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน
- รถอยู่ในสภาพดี ไม่เปลี่ยนสี เพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขเครื่องยนต์ ซึ่งทำให้ไม่รับรีไฟแนนซ์ หรือที่รับอาจลดยอดจัดลง
ขั้นตอนการขอรีไฟแนนซ์ :
- เตรียมเอกสาร : เพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อแสดงให้เห็นรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้
- เลือกธนาคาร : เลือกที่อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการผ่อนชำระ ช่องทางการชำระเงิน และเงื่อนไข โปรโมชั่นที่ดีที่สุด
- ยื่นขอสินเชื่อ : เจ้าหน้าที่ไฟแนนซ์ดำเนินการ กรอกใบสมัคร และเซ็นเอกสาร เพื่อนำส่งขออนุมัติสินเชื่อ
- รออนุมัติ : หลังเอกสารครบ รอผลอนุมัติภายใน 1-3 วัน
- ปิดยอดหนี้เก่า : โดยปิดหนี้คงค้างทั้งหมดกับไฟแนนซ์เดิม เพื่อนำเล่มทะเบียนมาให้ไฟแนนซ์ที่ใหม่
- เริ่มผ่อนชำระค่างวดใหม่ : จะเริ่มผ่อนชำระงวดแรก ในอีก 45 วัน และให้เป็นไปตามวันเวลาที่เหมาะกับลูกค้า เช่นเงินเดือนออกทุกวันที่ 30 อาจเลือกชำระทุกวันที่ 5 ของเดือนเอกสารที่ต้องเตรียมมารีไฟแนนซ์รถ:
- บัตรประชานตัวจริง และสำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาเล่มทะเบียนรถหน้าครอบครองปัจจุบัน , หน้าภาษี 16-17 , และหน้าบันทึกเจ้าหน้าที่ 18-19
- สลิปเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือน หรือเอกสารแสดงรายได้ทั้งหมด
- สมุดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
- ใบเสร็จค่างวดรถเดือนล่าสุด3. หาเงินมาโปะ:
- หารายได้เสริม เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเพื่อมาชำระหนี้ได้
- ขอยืมเงินจากญาติ เพื่อปรับสภาพหนี้ให้เป็นปกติ และเป็นลูกค้าที่ไฟแนนซ์เดิม ผ่อนชำระให้คืนได้
- ขายทรัพย์สิน เช่นขายของมีค่าที่เกินความจำเป็น หรือของสะสม ที่มีมูลค่าเพื่อมาชำระหนี้ ให้เป็นปกติ
4. ประนีประนอม:
- เจรจาต่อรองกับไฟแนนซ์ เพื่อขอส่วนลด หรือระยะเวลาที่มีโอกาสหาเงินชำระหนี้ได้ทันเวลา
- หาทางออกร่วมกัน อย่าพยามหนี้ปัญหา ควรรับโทรศัพท์ และเจรจา หรือนัดหมายให้ชัดเจน
5. ฟ้องร้อง:
- ปรึกษาทนายความ เพื่อเจรจา และมีช่องทางในการแก้ปัญหาให้ทางลูกค้ามีทางออกที่ดีที่สุด
- ฟ้องร้องไฟแนนซ์ การนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อ เรียกร้องค่าเสียหาย กรณีไฟแนนซ์ดำเนินการไม่ถูกต้อง และทำให้เกิดความเสียหาย
หรือ ขอศาลมีคำสั่ง ระงับการยึดรถ ลดจำนวนหนี้ให้น้อยลงกว่าที่ได้แจ้งไว้ หรือขอปรับโครงสร้างเพื่อปรับสถานะทางการเงินปัจจุบัน
Link: บทความเก่า ค้างค่างวดจนโดนฟ้อง โดนบังคับคดียึดทรัพย์ บังคับขายทอดตลาด
คำเตือน :
กรณี ที่ไม่ได้ไปศาล หรือ ไปศาลไกล่เกี่ย กับ โจทย์หรือเจ้าหนี้แล้ว มีการผิดนัดชำระ จะมีการดำเนินการต่อ ใน ขั้นการบังคับคดี หรือ เรียกกัน ว่า การยึดทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการขออายัดตัดยอดจากเงินเดือน หรือ อายัดทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน และ บังคับขายทอดตลาด เรามีเอกสาร การประกาศขายทอดตลาด จาก ผู้ที่ประสบปัญหานี้และ ได้มีการแก้ไขที่ถูกวิธี รีบแก้ไข ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติ่มได้
เป็นหนี้รถ โดนยึดบ้าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้