สินเชื่อรถยนต์ vs กู้ยืมมีรถค้ำประกัน: ต่างกันอย่างไร? เลือกแบบไหนดี?

Last updated: 28 มี.ค. 2567  |  481 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จำนำเล่มทะเบียนรถ สินเชื่อโอนเล่ม ไม่โอนเล่ม

  • สินเชื่อรถยนต์ vs กู้ยืมมีรถค้ำประกัน: ต่างกันอย่างไร? เลือกแบบไหนดี?
    "สินเชื่อรถยนต์เช่าซื้อรถยนต์ กับ กู้ยื่มมีรถค้ำประกัน " ต่างกันยังไง

     คำถามกันมาเยอะ ต่อจากโพสต์ ที่แล้ว"สินเชื่อเช่าซื้อ กับ กู้ยื่มมีรถค้ำ " สินเชื่อ มันมีอะไรบ้าง งงไปหมดแล้ว
            ประเภทของสินเชื่อ
    สินเชื่อมีหลายประเภทซึ่งการศึกษาการแบ่งประเภทของสินเชื่อแบบต่าง ๆ ทำให้เราทราบว่ารูปแบบของการให้สินเชื่อนั้นสามารถกระทำได้ในรูปแบบใดได้บ้าง
    1.ระยะสั้น 1.เพื่อการบริโภค 1.สำหรับบุคคล 1.บุคคลเป็นผู้ให้ 1.ไม่มีหลักประกัน” ที่เจอกัน บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อยัตรกดเงินสด บัตรผ่อนสินค้า”
    2.ระยะกลาง 2.เพื่อการลงทุน 2.สำหรับธุรกิจ 2.สถาบันการเงินเป็นผู้ให้ 2.มีหลักประกัน
    2.แส่วนมาก “สินเชื่อเช่าชื้อ รถยนต์ เครื่องจักร อุปกรณ์ประกอบในการทำธุรกิจ”
    3.ระยะยาว 3.เพื่อการพาณิชย ์ 3.สำหรับรัฐบาล 3.หน่วยงานอื่น ๆ เป็นผู้ให้ ที่ใช้กัน “สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย บ้าน”
    1. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามระยะเวลา
    1.1 สินเชื่อระยะสั้น คือ สินเชื่อที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด สินเชื่อการค้า เครื่องมือสินเชื่อประเภทนี้ เช่น ตั๋วเงินคลัง(Treasury Bills) และตราสารพาณิชย์ (Commercial Papers) เป็นต้น อัตราดอกเบี้ย 36%ต่อปี
    1.2 สินเชื่อระยะกลาง คือ สินเชื่อที่มีอายุระหว่าง 1-5 ปี เช่น การผ่อนส่งการซื้อสินค้าคงทน เป็นต้น "สังเกตุ พวก สัญญาเงินกู้ โดยมีหลักประกันจะผ่อนไม่เกิน 60งวด หรือ 5 ปี" แบงก์ชาติ กำหนด ัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน23%ต่อปี
    1.3 สินเชื่อระยะยาว คือ สินเชื่อที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินจำนวนมาก หรือเป็นการบริโภคสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูงมากเช่น บ้านและที่ดิน เป็นต้น อัตราดิกเบี้ย ไม่เกิน14%ต่อปี
    2. การแบ่งประเภทของสินเชื่อตามวัตถุประสงค์
    2.1 สินเชื่อเพื่อการบริโภค หมายถึง สินเชื่อที่ให้กับบุคคล เพื่อประโยชน์ในการนำมาบริโภค สินเชื่อประเภทนี้อาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบเช่น การเปิดบัญชีไว้กับร้านอาหาร เมื่อถึงสิ้นเดือนจึงชำระครั้งเดียว การผ่อนส่งจากการซื้อสินค้าโดยเฉพาะสินค้าคงทน เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ รถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้สินเชื่อจากบัตรเครดิตก็เป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคเช่นกัน
    2.2 สินเชื่อเพื่อการลงทุน อาจเป็นสินเชื่อเพื่อการจัดหาปัจจัยการผลิตหรือสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินการผลิตไม่ว่าจะเป็นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ สินเชื่อประเภทนี้มักเป็นสินเชื่อระยะยาวอาจอยู่ในรูปของการออกหุ้นกู้ หรือสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
    2.3 สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์หรือสินเชื่อการค้า โดยทั่วไปเป็นสินเชื่อเพื่อการซื้อขายสินค้าประเภทวัตถุดิบ หรือการซื้อสินค้ามาจำหน่ายต่อ เป็นการรับสินค้ามาก่อน แล้วค่อยชำระค่าสินค้าภายหลังโดยทั่วไปจะเป็นสินเชื่อระยะสั้น เช่น 30-60 วัน เป็นสินเชื่อที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การทำธุรกิจ ทั้งนี้รวมไปถึงการออก Letter of Credit เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงในการชำระค่าสินค้าจากการซื้อขายระหว่างประเทศด้วย
    3. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามผู้ขอรับสินเชื่อ
    3.1 สินเชื่อสำหรับบุคคล มักเป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
    3.2 สินเชื่อสำหรับธุรกิจ เป็นสินเชื่อสำหรับกิจการห้างร้านไม่ว่าจะนำไปใช้เพื่อลงทุนเพื่อการผลิตหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน
    3.3 สินเชื่อสำหรับรัฐบาล ในยามที่รัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอแก่รายจ่ายหน่วยงานภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงินซึ่งอาจอยู่ในรูปของตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบต่าง ๆ เช่น พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นต้น
    4. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามผู้ให้สินเชื่อ
    4.1 บุคคลเป็นผู้ให้ เช่น การให้กู้ยืมในหมู่คนรู้จัก ญาติพี่น้อง หรือการปล่อยกู้นอกระบบ เป็นต้น
    4.2 สถาบันการเงินเป็นผู้ให้ ซึ่งสถาบันการเงินก็มีหลายประเภทและอาจตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เงื่อนไขและประเภทของวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อก็อาจแตกต่างกันไป สถาบันการเงินเหล่านี้ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามและสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น
    4.3 หน่วยงานอื่น ๆ เป็นผู้ให้ เช่น มูลนิธิ องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร หน่วยงานการกุศล และกองทุนต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
    5. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามหลักประกัน
    5.1 สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน สินเชื่อประเภทนี้อาศัยความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นเครื่องพิจารณาการให้สินเชื่อ สินเชื่อประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงเพราะไม่มีหลักประกันให้แก่ผู้ให้กู้ในกรณีที่เกิดการผิดสัญญาขึ้น
    5.2 สินเชื่อที่มีหลักประกัน สินเชื่อประเภทนี้มีความเสียงต่ำกว่าเนื่องจากผู้กู้มีหลักประกันแก่ผู้ให้กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายหากเกิดการผิดสัญญาขึ้น โดยหลักประกันดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ เช่น การจำนองที่ดิน สังหาริมทรัพย์ เช่น พันธบัตร ทองคำ หรืออยู่ในรูปของการค้ำประกันจากบุคคลหรือสถาบันการเงิน (อาวัล)
    อ้างอิง : 
    https://www.bot.or.th/th/satang-story/managing-debt/before-loan.html
    ก็ได้โทร 0950575511 หรือ 095-806-5511 
    หรือ inbox : @anantagroup
    http://line.me/ti/p/~@anantagroup

    ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดไฟแนนซ์รถยนต์ กับ อนันตา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้